วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตะไคร้หอม ...ปิดโครงการแล้วจ้า


ภาพการทำสเปรย์ตะไคร้หอม

 
 1. วิทยากรสอน อสม.หมู่ที่ 1 ทำสเปรย์ตะไคร้หอม และฝึกให้เป็นครู2  เพื่อทำการสอนประชาชนผู้สนใจต่อไป
 


รอฟังการแนะนำอุปกรณ์ และวิธีการ
อสม.นภา-แต๋ม-หมี
 


อสม.แหม่ม - อสม.หมี ช่วยดูตวงน้ำ  - อสม.นภา  บ่นอะไร
 

อสม.ส้ม-จิ๋ว พร้อมผู้ติดตาม
 
 

อสม.พร กำลังดู อสม จิ๋ว ดึงน้ำออกจากโหลหมักตะไคร้
 


เรียบร้อยละ เตรียมตัวไปสอนบุคคลที่สนใจต่อไป
 
 
 ผลของการฝึกสอนเพื่อเป็นครู 2  ดังนี้

       1. อสม. มีความเชียวชาญมากขึ้น พูดจาคล่องขึ้น มีความชำนาญเรื่องการ ตวง วัด มากขึ้น

       2. อสม. สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เอง โดยไม่ต้องรอวิทยากร

       3. เมื่อได้ฝึกสอน 2-3 ครั้ง อสม. จะมีความมั่นใจมากขึ้น กล้าแสดงออก กล้าสอน กล้าบอกในหลักการและเหตุผลมากขึ้น

       4. อสม. กล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่ตื่นเวที และรู้จักการทำงานที่เป็นทีม
 การถ่ายทอดความรู้ ให้ อสม.หมู่ที่ 2-6

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 การถ่ายทอดความรู้ ให้ประชาชนทั่วไป

 
 

 
 
 
 
สรุปผลการดำเนินงาน
 
วัน เวลา สถานที่จัดโครงการ
ครั้งที่
วัน/เดือน/ปี
สถานที่
1
20 มีนาคม 2556
ศาลาอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านปราบ หมู่ที่ 1
2
10 เมษายน 2556
ศาลาอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านปราบ หมู่ที่ 1
3
26 เมษายน 2556
ห้องประชุม ชั้น 3 โรงพยาบาลปลวกแดง
4
17 พฤษภาคม 2556
ห้องประชุม ชั้น 3 โรงพยาบาลปลวกแดง
5
19 พฤษภาคม 2556
ศาลาอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านปราบ หมู่ที่ 1

.  ผู้เข้าร่วมโครงการ
·        จำนวนเป้าหมาย                                          120       คน
·        จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ / กิจกรรม ทั้งหมด         135       คน  
แบ่งเป็น
-        ประชาชนในชุมชน                                 47         คน
                        -        อสม.                                                 85        คน
                        -        อื่นๆ ระบุ      ข้าราชการ                          3         คน


ขั้นตอนและผลการดำเนินงานตามโครงการ
 

ลำดับที่
กิจกรรม
ผลการการดำเนินงาน
1
รวบรวมข้อมูล
ศึกษาข้อมูล เรื่องตะไคร้หอม ประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันยุงได้
2
เชิญวิทยากร
วิทยาการได้ทำการอบรม อสม.หมู่ที่ 1 โดยฝึกให้เป็นครู 2 โดยจะร่วมสอนการทำสเปรย์ตระไคร้หอมกับวิทยากรเพื่อเป็นการฝึกความชำนาญและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนด้วยกันเอง
3
สอนทำสเปรย์ตะไคร้หอม
สูตรต่างๆ
ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนและนอกชุมชน เนื่องจากมีการทำสเปรย์ตะไคร้หอมหลายสูตร ซึ่งสามารถเลือกทำในแต่ละสูตรได้
สูตรที่ 1 สำหรับบ้านที่มียุง และมด
สูตรที่ 2 สำหรับบ้านที่มียุง และคนในบ้านเป็นภูมิแพ้
            หายใจไม่ออกในตอนกลางคืน
สูตรที่ 3 สำหรับบ้านมียุง และคนในบ้านเป็นโรคซึมเศร้า



ผลการประเมินโครงการ / กิจกรรม

 

ลำดับ
หัวข้อการประเมิน
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
5
มาก
4
ปานกลาง
3
น้อย
2
น้อยที่สุด
1
1
คนในชุมชนลด ละ เลิก การใช้สารเคมีพ่นยุง หันมาใช้สารสกัดตะไคร้หอมไล่ยุง
 
 
ü


 


 


 
 
 
2
เพื่อให้คนในชุมชนทำสารสกัดที่ได้จากตะไคร้หอม พ่นยุง แมลง และมด ใช้เองในครัวเรือน
 
 
 
 
    
ü

 
 
 
3
มีการรวมกลุ่มทำสเปรย์ตะไคร้หอม ออกวางจำหน่าย
 
 
ü
 
 
 
 

 
สรุปข้อเสนอแนะ

          1. การทำสเปรย์ตะไคร้หอม มีขั้นตอนในการหมักตะไคร้กับแอลกอฮอล์ 95% (สารบางชนิดไม่สามารถถูกสกัดโดยวิธีการกลั่นน้ำมัน แต่จะละลายออกมาเมื่อสกัดโดยแอลกอฮอล์ 95%) ถ้าใช้น้ำหมักตะไคร้+น้ำมันตะไคร้จะได้ประโยชน์จากตะไคร้หอมได้สูงสุด
          2. แอลกอฮอล์ 95% ไม่สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ต้องซื้อร้านเครื่องมือแพทย์เท่านั้น
          3. เมื่อทำการผสมใส่ขวดแล้ว ทิ้งไว้ระยะเวลา 1 อาทิตย์ น้ำตะไคร้หอม จะเปลี่ยนสี
           4. ถ้ามีการต่อยอดการทำสเปรย์ตะไคร้หอม ต้องมีการศึกษาเรื่องสีของตะไคร้ ทำอย่างไรไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีเขียว เป็นสีเหลือง

 
 จุดแข็งของโครงการ

            ใช้ทดแทนการใช้สเปรย์ฆ่ายุง ฆ่ามด ได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จุดอ่อน /ปัญหา อุปสรรค ของโครงการ

            เมื่อใช้ไป 1 อาทิตย์ สีของตะไคร้จะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นเหลืองอ่อน

 งานที่ต้องดำเนินการต่อหลังจากการดำเนินโครงการ

       รวมกลุ่มทำสเปรย์ตะไคร้หอม ออกจำหน่าย / ทำสเปรย์ตะไคร้หอมไปถวายพระวัดราษฏร์อัสดาราม จำนวน 500 ขวด (ยอดสั่งจากเจ้าอาวาส) 
 การใช้ประโยชน์จากตะไคร้หอม มีมากมาย ซึ่งโครงการต่อไปคือ การทำธูปตะไคร้หอม และ เตาน้ำมันหอมระเหยตะไคร้  ซึ่งได้มีการทดลองทำแล้ว แต่ยังต้องปรับปรุงสูตร และสัดส่วนของวัตถุดิบ ต่อไป

 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น