วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อสม. ร่วมปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก รอบ2

วันนี้  21/6/2556  อสม.หมู่ที่ 1 มีกิจกรรมที่ต้องทำดังนี้

กำจัดแหล่งเพาะยุง ลูกน้ำยุงลาย ในหมู่บ้าน (แจกทรายอะเบท รอบ 2 ด้วยยังมีเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ไม่เยอะ)


เวลา 8.30 น. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และแจกทรายในหมู่บ้าน




ข้อชี้แจง  ป้ายที่ใช้แสดง 3 ป. เป็นป้ายเก่าค่ะ
 

             ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556    เน้นกิจกรรม 5 ป. ปราบยุงลาย  “เปลี่ยน-ปิด-ปล่อย-ปรับปรุง-ปฏิบัติเป็นประจำ

  1 ข. ขัดไข่ยุงลาย

 
จำเป็นต้องรณรงค์กำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์ .... เพื่อ....ตัดวงจรการเกิดยุงลายได้โดยตรง

1. เปลี่ยน = เปลี่ยนน้ำ .... ในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
2.  ปิด  =  ปิดภาชนะ ..... น้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้งเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
3. ปล่อย = ปล่อยปลาหางนกยูง .... กินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว, ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีในบ้าน .... ในโรงเรียน
4. ปรับปรุง = ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ..... ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
 5. ปฏิบัติเป็นประจำ = ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย    
และ
1 ข = ขัดไข่ยุงลาย ....  


 
 

       โรคไข้เลือดออก ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและการแพทย์
ปัจจัยที่สนับสนุน ..... การระบาดของโรค คือ ฝนที่ตกเป็นช่วงๆ  ถือเป็นการเติมน้ำในภาชนะที่อาจมีไข่ยุงลายสะสมอยู่ตามขอบภาชนะจำนวนมาก ประกอบกับสภาพที่อาจมีภาวะภัยแล้ง ....  ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการกักเก็บน้ำในภาชนะก็ยิ่งทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน
นิสัยยุงลายเป็น... ยุงสะอาด .... ไข่ในน้ำนิ่งใส  "ไม่ไข่" ในน้ำเน่าเสียหรือท่อระบายน้ำ ....
แต่ยุงลายไม่ได้ไข่ในน้ำโดยตรง.... แต่จะ ... ไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร  .... เมื่อมีน้ำมาเติมท่วมจึงจะแตกตัวเป็นไข่ เป็นลูกน้ำ และ เป็นยุงลายตัวเต็มวัยต่อไป ใช้เวลาทั้งหมด 7-10 วัน ฉะนั้น .... จำเป็นต้องรณรงค์กำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์ .... เพื่อ....ตัดวงจรการเกิดยุงลายได้โดยตรง

:cr http://www.gotoknow.org/posts/530533

 

 
 
 
อสม.ตุ่ม (สวัสดิ์ รอดพ้น) ช่วยชาวบ้านเทกระป๋องน้ำ


 
เยี่ยมมากเลย อสม.ตุ่ม


 
งานเสร็จละ ช่วยถือป้ายถ่ายรูปหน่อย
ใครเป็นใครมั่งดูสิ
อสม.ตุ่ม-นภา-จิ๋ม-จิ๋ว-ซิ้ม...
บันทึกภาพโดย อสม.แป้ว



 
 ปัญหาและอุปสรรค

     เราได้พบว่า เวลา อสม. เดินแจกทรายอะเบทตามบ้าน นั้น ถ้าเป็นหมู่บ้านคนในพื้นที่ไม่มีปัญหา ยินดีรับฟังวิธีการใช้อย่างถูกต้องจาก อสม. แต่เนื่องจากในเขต รับผิดชอบ หมู่ที่1 มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมากมาย คนจากต่างถิ่นอาศัยอยู่มากเพื่อมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้ความร่วมมือในการรับแจกทรายจาก อสม. ซ้ำร้ายไม่สนใจที่จะดูแลสุนัขที่จะกัด อสม.เลย หมู่บ้านใหม่ๆ ที่ผู้ใช้แรงงานอาศัยอยู่นั้น มักจะเป็นปัญหากับ อสม. ประจำ และเป็นบริเวณที่เกิดโรคไข้เลือดออกระบาด ก็จะระบาดในหมู่บ้านใหม่ๆ ที่ผู้คนไม่สนใจในการปราบยุง บริเวณบ้านมีน้ำขัง  ซึ่งเรา อสม. ก็พบทุกปี และเราก็พยายามเหลือเกินในการจะเข้าไปช่วยในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย  เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากท่านๆ ทั้งหลาย จะให้เรา อสม... ทำอย่างไร ดี
  
  

1 ความคิดเห็น: