วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อสม. เขียนโครงการเสนอ อบต.ปลวกแดง


โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลวกแดง ในปีนี้ ทาง อสม. หมู่ที่1 ของเราได้ เขียนโครงการ 2 โครงการ
โครงการที่ 1 เรื่อง   สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงปลอดภัยกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
โครงการที่ 2 เรื่อง   แป้งโดเรมี เพิ่มทักษะ พัฒนาความคิดในเด็ก
*******
              โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลวกแดง

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2556

1.       ชื่อโครงการ      สเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงปลอดภัยกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2.       ผู้รับผิดชอบโครงการ                อสม.หมู่ที่ 1 (นอกเขตเทศบาล)

3.       ผู้รับผิดชอบดำเนินการ              นางเสาวรัตน์  เกตุมาลา

4.       หลักการและเหตุผล

เนื่องจากชาวบ้านในชุมชน มีการใช้ ยาจุดกันยุง ยาพ่นจำกัดแมลง ยุง ภายในบ้าน แทบทุกครัวเรือน สารที่เป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมสำหรับไล่หรือฆ่ายุงในยาจุดกันยุง เป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทไพรีทรอยด์ ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้ยุงบินไม่ได้ตกลงมา (Knock down action) สลายตัวได้ง่ายก็สามารถทำให้เกิดพิษได้ โดยเฉพาะในรายที่เกิดอาการแพ้ จะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวม แดง เยื่อจมูกอักเสบ และมีอาการเหมือนแพ้เกสรดอกไม้ คือ ไอ จาม น้ำมูกไหล หายใจขัด เป็นต้น ส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์กำจังแมลงชนิดฉีดพ่น (สเปรย์) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง มีอันตรายมากกว่ามากกว่ายาจุดกันยุง ประกอบด้วยสารเคมีกำจัดแมลง 1-4 ชนิด ทั้งยังมี น้ำมันก๊าด และแก๊ส บรรจุในกระป๋องโลหะทรงกระบอกมีปุ่มกดให้สารออกมาเป็นละอองฝอยการฉีดพ่นทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารเคมี  ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในชุมชน จากการสูดดมเข้าร่างกาย  และเกิดสะสมในร่างกาย 
5.       วัตถุประสงค์

5.1 เพื่อให้คนในชุมชนลด ละ เลิก การใช้สารเคมีพ่นยุง หันมาใช้สารสกัดตะไคร้หอมไล่ยุง ส่งเสริมสุขภาพให้คนในชุมชน มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรง ลดการสะสมสารเคมีในร่างกาย ลดการเกิดภูมิแพ้ในเด็ก

5.2 เพื่อให้คนในชุมชนทำสารสกัดที่ได้จากตะไคร้หอม พ่นยุง แมลง และมด ใช้เองในครัวเรือน

   6. เป้าหมาย

          6.1 ให้คนในชุมชนลดการใช้สารเคมี และผลิตสารจากธรรมชาติในการขับไล่ยุง แมลง ใช้เองในครัวเรือน

6.2  สุขภาพคนในชุมชนแข็งแรง ลดภูมิแพ้ในเด็ก ลดการสะสมสารเคมีในร่างกาย

6.3 ประหยัดค่าใช้จ่าย

   7. ระยะเวลาในการดำเนินการ

          ระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่เดือน มีนาคม –  กรกฎาคม พ.ศ  2556

8. วิธีการดำเนินงาน

          8.1 รวบรวมข้อมูลเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ

          8.2 ติดต่อประสานงานกับวิทยากร เพื่อสอนการทำสเปรย์พ่นยุง จากธรรมชาติและสบู่สมุนไพร

          8.3 จัดประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงวัน และเวลา ในการทำสเปรย์พ่นยุง โดยจัดเป็นกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม ๆ ละ 15-20 คน

          8.4 ดำเนินการตามแผนที่วางไว้

          8.5 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

9. งบประมาณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

       - คนในชุมชน ลดการฉีดพ่นไล่ยุง แมลง มด ที่เป็นสารเคมี

       - คนในชุมชน มีการผลิตสารจากธรรมชาติ ในการฉีดพ่น ไล่ยุง ใช้เองในครัวเรือน

       - คนในชุมชน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและการเกิดภูมิแพ้ในเด็กลดลง

        - คนในชุมชนห่างไกลจากสารเคมี มีสุขภาพดีถ้วนหน้า

        -   ลดจำนวนการรับยาไปทานจากอาการภูมิแพ้ และระบบทางเดินหายใจ
ปิดโครงการไปแล้วค่ะ สรุปผลการดำเนินงาน ส่งให้หมอตูน (เจ้าหน้าสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
อบต.ปลวกแดง) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556
แล้วจะนำภาพสวยๆ ที่พวกเราไปอบรมทำสเปรย์ตะไคร้ และพวกเราไปสอน อสม.ด้วยกันทำสเปรย์
โครงการที่ 2 ค่ะ

โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลวกแดง

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2556

1.       ชื่อโครงการ      แป้งโดเรมี เพิ่มทักษะ พัฒนาความคิดในเด็ก

2.        ผู้รับผิดชอบโครงการ               อสม.หมู่ที่ 1 (นอกเขตเทศบาล)

3.       ผู้รับผิดชอบดำเนินการ              นางสาวทิพวัลย์  เช็งสวย

4.       หลักการและเหตุผล

การที่เสริมทักษะ ส่งเสริมความฉลาดในอารมณ์ในเด็กโดยเฉพาะของเล่น ซึ่งเมื่อเล่นแล้วต้องมีประโยชน์ และทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกสมาธิ สามารถสร้างจินตนาการของตนเอง เมื่อสร้างสรรค์แล้วเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจและอธิบายงานของตนเองได้ การเล่นกับลูกเป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เป็นเป้าหมายที่ให้แม่และเด็กมีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้    การปั้นแป้งโดเรมี (แป้งโดว์) ซึ่งมีข้อดีดังนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เล่นได้หลายครั้ง ไม่แข็งตัว ไม่ติดมือ ไม่มีกลิ่นเหม็น สนุกกับการผสมสี มีความนิ่มและเหนียว สามารถ นวด กด ทับ ได้ การปั้นเป็นการฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ ทักษะที่เด็กๆ ใช้มือทำโน่นทำนี่ มือ ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่ซับซ้อนมากมาย ศิลปการปั้น ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานพร้อมกัน เป็นการเส้นทางการเชื่อมโยงของสมอง เพื่อเพิ่มความทรงจำ  แม้กระทั่งหลักสูตรในการพัฒนาเด็กพิเศษหลายที่ ต้องมีกิจกรรมศิลปะงานปั้นที่พัฒนากล้ามเนื้อมือ และข้อมือ สายตาได้การทำงานประสานกันรวมเข้าไปด้วยเสมอ  รวมถึงศิลปะงานปั้น เป็นกิจกรรมที่สามารถเล่นได้ทั้งครอบครัว ตั้งแต่ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง และกลุ่มเพื่อนๆ

5.       วัตถุประสงค์

5.1 เพื่อให้เด็กในชุมชนได้ ห่างไกล จากการเสพติดเกมส์คอมพิวเตอร์ ไอโฟน ไอแพด

5.2 เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกสมาธิ มีจินตนาการ เพิ่มทักษะในการสื่อสาร และพัฒนาความคิดเกิดการสร้างสรรค์งาน พัฒนาการเรียนรู้การผสมสี การต่อยอดงานศิลปะ

5.3 เพื่อเป็นกิจกรรมของครอบครัว

     6. เป้าหมาย

          6.1 ให้เด็กในชุมชนห่างไกลจากการติดเกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์จากโทรศัพท์  ติดไอแพด ไอโฟน

6.2  เด็กในชุมชนมีจิตใจเอื้อฟื้อ รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ และมีลักษณะของการสอนกัน เช่น พี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน พ่อแม่สอนลูก และ ปู่ย่าตายาย สอนหลานๆ ปั้นแป้ง

6.3 เด็กมีสมาธิในการทำงาน และมีการเรียนที่ดีขึ้นโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

7. ระยะเวลาในการดำเนินการ

          ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือน มีนาคม –  สิงหาคม พ.ศ  2556

8. วิธีการดำเนินงาน

          8.1 รวบรวมข้อมูลเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ

          8.2 อสม. หมู่ที่ 1 ฝึกศิลปะงานปั้นที่มีรูปแบบและฝึกการทำแป้งโดเรมี

          8.3 จัดประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงวัน เวลา และสถานที่ ในการสอนปั้นแป้งโดเรมี

          8.4 ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ โดยออกตามหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่ ร่วมกับ โครงการ อบต.ปลวกแดงเคลื่อนที่ตามหมู่บ้านต่างๆ

          8.5 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
9. งบประมาณ

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          10.1  กล้ามเนื้อมัดเล็กมีการพัฒนา และแข็งแรงขึ้น เขียนหนังสือลายมือสวยขึ้น

          10.2  เด็กมีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายผลงานและเกิดจินตนาการต่อยอดของผลงานต่อไป

10.3 เป็นการฝึกการเข้าสังคมโดยการเล่นกับเพื่อนๆ เกิดการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน

          10.4 สามารถเล่นที่บ้านโดยเป็นกิจกรรมที่เล่นได้ในครอบครัว  สร้างการเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่-พี่น้อง-ปู่ย่า-ตายาย

11. การประเมินผล 

          11.1  ประเมินผลจากจำนวนเด็กเข้าร่วมกิจกรรม และได้รับการสอนปั้นแป้งแบบมีรูปแบบ รวมถึงการต่อยอดกิจการปั้นแป้ง และอธิบายผลงานของตนเองได้  โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อยครั้งละ 25-30 คน/หมู่บ้าน

          11.2  เด็กสนใจเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ลดลง เกมส์จากโทรศัพท์น้อยลง โดยมีผู้ปกครองคอยแนะนำ

          11.3  มีกิจกรรมที่ผ่อนคลายทำให้เกิดความสนุกสนาน มีเสียงหัวเราะ และเสียงแห่งความสุข
 
ตอนนี้เราจัดกิจกรรมไป 3 หมู่บ้านแล้วค่ะ เหลืออีก 3 หมู่บ้านค่ะ แล้วช่วยติดตามด้วยนะคะ

 

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น