วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อสม.หมู่ที่ 1-6 อบรม อสม.เชี่ยวชาญ ควบคุมไข้เลือดออก

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน 2556  เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม อบต.ปลวกแดง

   วันนี้ อสม.ตำบลปลวกแดง ได้มารับการอบรม อสม.เชี่ยวชาญ เรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผู้บรรยาย คุณ ธีรยุทธ  กล่ำสีดา จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จ.ระยอง กรมควบคุมโรค
กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ดังนี้

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2556

    จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 25/06/2556 (สัปดาห์ที่ 25)
  • จำนวนผู้ป่วย54,042ราย
  • จำนวนผู้ป่วยตาย62ราย
  • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 84.34
  • อัตราตายต่อแสนประชากร 0.1
  • อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.11
ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าปี 2555

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2556

    จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 2013-06-25 (สัปดาห์ที่ 25)
  • จำนวนผู้ป่วย54,042ราย
  • จำนวนผู้ป่วยตาย62ราย
  • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 84.34
  • อัตราตายต่อแสนประชากร 0.1
  • อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.11

 
ผู้เขียนได้จดบันทึกมา ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ แต่อยากถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาวันนี้ ให้ผู้ที่สนใจ

จากการที่ ผู้บรรยาย ได้ออกมาสำรวจแหล่งลูกน้ำยุงลาย บริเวณสี่แยกลุงอุ้ย  อ.ปลวกแดง เมื่อเดือน มีนาคม และพฤษภาคม 2556 พบว่า มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย เกินค่ามาตรฐาน

จังหวัดที่มีผู้เป็นไข้เลือดออกมาที่สุด ได้แก่ สงขลา ภูเก็ต พังงา กระบี่

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดระยอง  (ขอบคุณ : มติชนออนไลน์)

       ไข้เลือดออกระบาดหนักใน จ.ระยอง ตาย 2 ราย ป่วย 667 ราย สธ.เร่งฟื้นความรู้แก่เจ้าหน้าโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราผู้เสียชีวิตในอนาคต

            วันนี้ (6 กรกฎาคม) นพ.กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 18,569 ราย เสียชีวิต 19 ราย โดย จ.ระยอง มีผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก
667 ราย และใน อ.เมือง พบผู้ป่วยมากที่สุด 435 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.22 ของผู้ป่วยทั้งจังหวัด

            ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุข จ.ระยอง จึงได้ร่วมกับหน่วยควบคุมโรคติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า ระยะเวลาเพียงแค่ 13 วัน กลับมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 117 ราย นับว่าเป็นการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมาก ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุข จ.ระยอง จึงร่วมกับ โรงพยาบาลระยอง จัดอบรมฟื้นฟูวิชาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) จ.กรุงเทพฯ มาให้ความรู้ ซึ่งคาดหวังว่าบุคลากรโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลเอกชนอีก 3 แห่ง ใน จ.ระยอง จะได้รับการฟื้นฟูองค์ความรู้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

            อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษณ์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย รายแรกเป็นผู้ป่วยจากโรงพยาบาลบ้านฉาง จากผลเลือดพบว่าเป็นโรคชิกุนคุนยา ซึ่งเป็นโรคที่มาจากยุงลายเหมือนกับโรคไข้เลือดออก แต่เป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน ส่วนรายที่ 2 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน นาน 4 วัน และเสียชีวิตขณะกำลังย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลระยอง ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้มีอายุมากกว่า 15 ปี แสดงว่าโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน สามารถระบาดได้ทั้งในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย หรือกลุ่มนักศึกษาด้วย



อำเภอในจังหวัดระยอง ที่พบว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ได้แก่ อ.นิคมพัฒนา บ้านค่าย ปลวกแดง แกลง
และพบมากในผู้ป่วยอายุ 15-24 ปี

การติดต่อ
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส เด็งกี่ (Dengue) ซึ่งมี ทั้งหมด 4 เด็งกี่ คือ เด็งกี่ 1 - เด็งกี่ 2 - เด็งกี่ 3 และเด็งกี่ 4  คนนึงจะสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง เพราะว่าถ้าเป็นในสายพันธุ์หนึ่งแล้ว จะไม่เป็นอีก มีภูมิคุ้มกันแล้ว
การจะไปไข้เลือดออกได้  ต้องโดนยุงลายกัด


ขอบคุณภาพจาก   สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 


ไข้เลือดออก ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษา จะรักษาตามอาการเท่านั้น

าการ
 ไข้สูง - เลือดออกตามไรฟัน - ผิวหนัง - จมูก - ทวารหนัก - ฉี่เป็นเลือด - ตับโต พบในเด็ก - เกิดภาวะช๊อค

 
ขอบคุณภาพจาก   สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 

ยุงลายมี 2 ชนิด
1.ยุงลายบ้าน
2.ยุงลายสวน

ยุงลายบ้าน อันตรายมากกว่า ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์

ยุงลายบ้าน  - สามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้
                 - สามารถดูดเลือดคนได้หลายๆครั้ง
                 - ไข่ได้ครั้งละ 100-150 ฟอง

ผู้เขียนได้ถ่ายรูปไข่ยุงลายมาด้วย

 
 
 
ยุงลายสามารถวางไข่เหนือน้ำในโอ่งได้ จากนั้นก็รอให้มีน้ำเข้ามา จากนั้นก็ฟักเป็นตัว
 
ขอบคุณภาพจาก สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 
 
 
วงจรชีวิตยุงลาย
 
 
ขอบคุณภาพจาก สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 
 
การป้องกันการระบาด
ป้องกันก่อนการระบาด -------> ทำในหน้าแล้ง  ----คว่ำภาชนะ ---ปล่อยปลา
หลังจากการระบาด  ---------->  กำจัดยุงที่บิน ฆ่ายุงที่มีเชื้อ จะทำเมื่อมีผู้ป่วย-----เป็นการพ่นสารเคมีกำจัดตัวเต็มวัย
 
ทีนี้เรามาเข้าเรื่อง บทบาทของ อสม.ต่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
 
อสม.สามารถทำอะไรได้บ้าง เมื่อเกิดไข้เลือดออกระบาดในชุมชนของตนเอง
 
1. หามาตรการทางสังคม เช่น เมื่อสำรวจพบลูกน้ำยุงลาย ให้ทำสัญญลักษณ์ไว้เช่น ติดธงสี
 
2. ออกสำรวจลูกน้ำ และพาชาวบ้านทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 
 
3. ทำลายการเกิดยุงทุก 7 วัน
4. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวบ้าน เรื่องป้องกันโรค
 
5. เพาะพันธุ์ปลากินลูกน้ำแจกตามหมู่บ้าน
 
6.ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรไล่ยุง
 
7.ให้มีการทำสเปรย์ตะไคร้หอมใช้เองภายในบ้าน
 
8.ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชน เช่น แจกแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว  การประชุม-การอบรมต่างๆ
 
9. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือนทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
 
 

 
 
 
 
 
 

 



วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของการเล่นแป้งโดว์

สวัสดีค่ะ
          ผู้เขียนเคยนำเรื่องแป้งโดเรมี ไปเป็นนวัตกรรมนมแม่สายใยรักแห่งครอบครัว ในการแข่งขัน อสม.ดีเด่น ระดับจังหวัด จังหวัดระยอง แต่ไม่ได้ไปต่อนะคะ  วันนี้ก็เลยอยากนำมาลงเผยแพร่ เพราะว่า ทำเป็นโฟร์ชาร์ตไว้ ถ้าเก็บไว้ก็อยู่กับ อสม. ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย

ภาพปก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็สามารถให้นมได้
ผู้เขียนไปเที่ยว ดอยเสมอดาว จังหวัดน่าน  พักกลางเต้นท์ และมีหมอกหนา
บุตรสาว อายุ 11 เดือน แข็งแรง ไม่เป็นหวัด เพราะได้ภูมิคุ้มกันจากนมแม่

 
นวัตกรรม แป้งโดเรมี เป็นชื่อใหม่ ที่คุณหมอ นะ ช่วยตั้งให้ เพราะว่า
เมื่อได้เล่นแล้ว มีแต่เสียงหัวเราะ สนุกสนาน และมีความสุข
ช่วยให้เด็กห่างไกลจากเกมส์คอมพิวเตอร์
ห่างไกลจากเกมส์ไอแพด * ไอโฟน
ห่างไกลจากคำว่า..เด็กเกรียน
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นประชุมอาเซียน
โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาสังคมและวัฒนธรรม
ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

 

จากการพบเห็นเด็กๆ ปัจจุบันนี้ติดเกมส์-ติดไอแพด-ไอโฟน
 
ผลของการเสพติดเกมส์  โดดเรียน หนีเรียน - ผลการเรียนตกต่ำ - ไม่อยากไปเรียน - หมกหมุ่น ส่งผลถึงสายตา
กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า - ขาดโอกาสการเรียนรู้จากกิจกรรมอื่น - อยู่กับตนเองมากเกินไป จนขาดทักษะทางสังคม
ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น - พฤติกรรมก้าวร้าว - ใจคอคับแคบ - หวังเอาแพ้ ชนะกับพี่น้อง - อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว
เริ่มพัฒนาตนเองสู่พฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม

 
ลูกสาวค่ะ น้องตังเม ด.ญ. อมลวรรณ เกตุมาลา
เล่นแป้งโดเรมี ตั้งแต่ 1 ขวบ ไม่มีอันตรายค่ะ
 
 
ใช้สีจากดอกไม้ - แป้งเค้ก - ใส่เกลือ กวน ไม่มีการใส่สารเคมี

 
 
 
 
ข้อดีของแป้งโดเรมี - ไม่เป้นอันตรายต่อเด็ก - เล่นได้หลายครั้ง ไม่แข็งตัว
ไม่ติดมือ  ไม่มีกลิ่นเหม็น - สนุกกับการผสมสี - มีความนิ่มและเหนียว
สามารถ นวด กด ทับ ด้วยความนุ่มมือ
 
 
สิ่งที่เห็น - เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ มีน้ำใจ แบ่งปัน - ฝึกการเข้าสังคมโดยการเล่นกับเพื่อน
เป็นกิจกรรมของครอบครัว - เกิดความภาคภูมิในในผลงาน - มีสมาธิการทำงาน
มีทักษะในการสื่อสาร
 
เเผนผัง ที่รวมขั้นตอนและวิธีการ  ทำงานทั้งหมด
 
 


วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อสม. หมู่ที่ 1 สอนเด็ก หมู่ที่ 6 ปั้นแป้งโดเรมี

วันอาทิตย์ ที่ 23 มิถุนายน 2556

      อสม.หมู่ที่ 1 เดินทางไปหมู่ที่ 6 บ้านทับตอง เพื่อสอนเด็กๆ ปั้นแป้งโดว์ ร่วมกับ อบต.ปลวกแดงเคลื่อนที่ เป็นครั้งที่ 4 แล้วที่เราได้มาสอนเด็กๆ ในหมู่บ้านปั้นแป้ง เด็กบางคนไม่เคยเล่น  พอได้เล่นก็ติดใจ ขอกลับบ้าน
เริ่มต้นที่เวลา 9.00 น. เรามาพร้อมกับแป้งโดว์จำนวน 230 กระป๋อง มีสีขาว ดำ น้ำเงิน ชมพู เหลือง เขียว ส้ม พร้อมอุปกรณ์การปั้นโดว์ ทั้งแบบปั๊ม ตัด แกะ จิก เป็นต้น รวมทั้งแบบและวิธีการปั้นต่างๆ  ดังนี้ค่ะ


 
จัดเรียงแป้งโดว์ - วางอุปกรณ์
มีผู้ช่วยค่ะ น้องฟง กะ น้องเฟย
บุตรชาย อสม.ทิพวัลย์ เช็งสวย
    
เลือกอุปกรณ์ปั้นแป้ง เตรียมตัวลุยได้เลย
 

    
ตัวอย่างในการปั้นแป้ง
 

  

   
 
 
 
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อได้ปั้นแป้งโดว์แล้ว จะเพลิดเพลิน และจะเกิดความคิดในการรังสรรค์งานปั้นของตัวเองให้ออกมาดูดีที่สุด
 
 
  





อสม. ร่วมปราบยุงลาย ลดไข้เลือดออก รอบ2

วันนี้  21/6/2556  อสม.หมู่ที่ 1 มีกิจกรรมที่ต้องทำดังนี้

กำจัดแหล่งเพาะยุง ลูกน้ำยุงลาย ในหมู่บ้าน (แจกทรายอะเบท รอบ 2 ด้วยยังมีเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ไม่เยอะ)


เวลา 8.30 น. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และแจกทรายในหมู่บ้าน




ข้อชี้แจง  ป้ายที่ใช้แสดง 3 ป. เป็นป้ายเก่าค่ะ
 

             ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556    เน้นกิจกรรม 5 ป. ปราบยุงลาย  “เปลี่ยน-ปิด-ปล่อย-ปรับปรุง-ปฏิบัติเป็นประจำ

  1 ข. ขัดไข่ยุงลาย

 
จำเป็นต้องรณรงค์กำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์ .... เพื่อ....ตัดวงจรการเกิดยุงลายได้โดยตรง

1. เปลี่ยน = เปลี่ยนน้ำ .... ในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
2.  ปิด  =  ปิดภาชนะ ..... น้ำกินน้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้งเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
3. ปล่อย = ปล่อยปลาหางนกยูง .... กินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว, ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีในบ้าน .... ในโรงเรียน
4. ปรับปรุง = ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ..... ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
 5. ปฏิบัติเป็นประจำ = ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย    
และ
1 ข = ขัดไข่ยุงลาย ....  


 
 

       โรคไข้เลือดออก ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและการแพทย์
ปัจจัยที่สนับสนุน ..... การระบาดของโรค คือ ฝนที่ตกเป็นช่วงๆ  ถือเป็นการเติมน้ำในภาชนะที่อาจมีไข่ยุงลายสะสมอยู่ตามขอบภาชนะจำนวนมาก ประกอบกับสภาพที่อาจมีภาวะภัยแล้ง ....  ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการกักเก็บน้ำในภาชนะก็ยิ่งทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน
นิสัยยุงลายเป็น... ยุงสะอาด .... ไข่ในน้ำนิ่งใส  "ไม่ไข่" ในน้ำเน่าเสียหรือท่อระบายน้ำ ....
แต่ยุงลายไม่ได้ไข่ในน้ำโดยตรง.... แต่จะ ... ไข่เหนือระดับน้ำ 1-2 เซนติเมตร  .... เมื่อมีน้ำมาเติมท่วมจึงจะแตกตัวเป็นไข่ เป็นลูกน้ำ และ เป็นยุงลายตัวเต็มวัยต่อไป ใช้เวลาทั้งหมด 7-10 วัน ฉะนั้น .... จำเป็นต้องรณรงค์กำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์ .... เพื่อ....ตัดวงจรการเกิดยุงลายได้โดยตรง

:cr http://www.gotoknow.org/posts/530533

 

 
 
 
อสม.ตุ่ม (สวัสดิ์ รอดพ้น) ช่วยชาวบ้านเทกระป๋องน้ำ


 
เยี่ยมมากเลย อสม.ตุ่ม


 
งานเสร็จละ ช่วยถือป้ายถ่ายรูปหน่อย
ใครเป็นใครมั่งดูสิ
อสม.ตุ่ม-นภา-จิ๋ม-จิ๋ว-ซิ้ม...
บันทึกภาพโดย อสม.แป้ว



 
 ปัญหาและอุปสรรค

     เราได้พบว่า เวลา อสม. เดินแจกทรายอะเบทตามบ้าน นั้น ถ้าเป็นหมู่บ้านคนในพื้นที่ไม่มีปัญหา ยินดีรับฟังวิธีการใช้อย่างถูกต้องจาก อสม. แต่เนื่องจากในเขต รับผิดชอบ หมู่ที่1 มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นมากมาย คนจากต่างถิ่นอาศัยอยู่มากเพื่อมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้ความร่วมมือในการรับแจกทรายจาก อสม. ซ้ำร้ายไม่สนใจที่จะดูแลสุนัขที่จะกัด อสม.เลย หมู่บ้านใหม่ๆ ที่ผู้ใช้แรงงานอาศัยอยู่นั้น มักจะเป็นปัญหากับ อสม. ประจำ และเป็นบริเวณที่เกิดโรคไข้เลือดออกระบาด ก็จะระบาดในหมู่บ้านใหม่ๆ ที่ผู้คนไม่สนใจในการปราบยุง บริเวณบ้านมีน้ำขัง  ซึ่งเรา อสม. ก็พบทุกปี และเราก็พยายามเหลือเกินในการจะเข้าไปช่วยในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย  เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากท่านๆ ทั้งหลาย จะให้เรา อสม... ทำอย่างไร ดี
  
  

อสม. เยี่ยมหญิงหลังคลอด

วันศุกร์ที่ ที่ 21 มิถุนายน 2556

อสม.หมู่ที่ 1 ต.ปลวกแดง ได้ออกเยี่ยมหญิงหลังคลอด โดยได้กำหนดการเยี่ยมดังนี้

ครั้งที่ 1 คือ เยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ในสัปดาห์แรกอายุบุตรไม่เกิน 7 วันนับถัดจากวันคลอด

ครั้งที่่ 2 คือ เยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ในสัปดาห์ที่ 2 ตั้งแต่บุตรอายุ 8 วันแต่ไม่เกิน 15 วันนับถัดจากวันคลอด

ครั้งที่ 3 คือ เยี่ยมหลังคลอด(ทั้งแม่และลูก) ตั้งแต่บุตรอายุ 16 วันแต่ไม่เกิน 42 วัน นับถัดจากวันคลอด
 
โดยยึดหลักของ กรมอนามัย เรื่อง การดูแลหญิงหลังคลอดครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์  (อ้างอิงเอกสาร  คู่มือการปฎิบัติงาน 21 แฟ้มปี 2556 หน้า 25)
 
แต่ อสม.ม.1  จะเยี่ยมทุกเดือน เพราะว่า เราต้องออกให้กำลังแม่ที่กำลังให้นมบุตรด้วยตนเอง ให้ลูกกินนมแม่ให้ถึง 6 เดือน และบันทึกภาพเด็กทุกเดือน เพื่อเข้าร่วมโครงการสแตมป์นมแม่
 
วันนี้เราเยี่ยม 2 ราย  รายแรกเป็นคุณแม่วัยใส พึ่งคลอดน้อง จากโรงพยาบาลปลวกแดง
   
เจ้าหน้าที่ช่วยในการฝึกให้บุตรหัดกินนมแม่ให้ถูกวิธี  ชั้งน้ำหนักเด็ก ความยาว
สอบถามเรื่องการไปตรวจหลังคลอด การรับวัคซีน สุขภาพแม่โดยทั่วไป
 
 
 
 
รายที่ 2
 


         อสม. มาตรวจเยี่ยมน้องฟ้า เด็กหญิงกัญญารัตน์  เพ็งสุข  บุตรสาวของคุณวิยะดา เหล่าชุมพล วันนี้น้องร่าเริงมาก ไม่อ้อน สุขภาพแข็งแรง และเราได้มอบธงนมแม่แน่กว่าใคร ให้แก่คุณแม่วิยะดา ตอบแทนที่คุณแม่ให้ความร่วมมือในการเลี้ยงบุตรด้วยนมของตนเอง โดยพี่จ๊ะ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปลวกแดง เป็นผู้มอบ ให้ และ อสม. ก็ช่วยกันติดธงนี้ไว้หน้าบ้าน
 
  
 
 
 
 

 
 

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด

              สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราต้องทำคือ การสำรวจหญิงตั้งครรภ์ และให้ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หลังจากนั้นเราก็จะนัดเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลปลวกแดง ออกตรวจเยี่ยม  และเพื่อไม่ให้เสียเวลา เราก็นัดเยี่ยมแม่หลังคลอดไปเลย คือ ได้ตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ , ตรวจสุขภาพเด็กเกิดใหม่ และตรวจสุขภาพแม่หลังคลอด โดย อสม. ได้ไปแจ้งล่วงหน้าให้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด แล้ว  วันออกตรวจสุขภาพ  อสม.ก็จะนัดรวมตัวกันที่ร้านค้าของหมู่บ้าน  เพื่อรอรับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลปลวกแดง   ในหมู่บ้านเราตอนนี้มีหญิงตั้งครรภ์อยู่ 1 ราย

ตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 1                                    ตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 2
 
 
หญิงตั้งครรภ์ อายุ 16  ปี อายุครรภ์   7 เดือน 
ตรวจวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก สอบถามการไปพบแพทย์
จำนวนครั้งของการดิ้น , หัวนม , การดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน ,
อสม. ช่วยดูสมุดฝากครรภ์

 

 
กำหนดคลอด 16 มิถุนายน 2556
ตรวจสุขภาพเหมือนเดิม ซักภามอาการต่างๆ
โดยมี อสม. หลายท่านร่วมกิจกรรมในการตรวจเยี่ยมครั้งนี้
 

ตรวจสุขภาพหญิงหลังคลอด

 
วัดความดัน -สอบถามอาการโดยทั่วไป การคุมกำเนิด
 ปัญหาเต้านม ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูบุตร



 


ตรวจสุขภาพเด็ก

 
น้องมีน อายุ 2 เดือน
บุตรคุณจิรภา ฐานบำรุงรักษ์
ชั่งน้ำหนัก - ความยาวลำตัว - วัดรอบศรีษะ - สมุดฝากครรภ์สีชมพู
เพื่อดูการได้รับวัคซีน

 

 
น้องฟ้า อายุ 1 เดือน 15 วัน
บุตรคุณ วิยะดา  เหล่าชุมพล
ชั่งน้ำหนัก - ความยาวลำตัว - วัดรอบศรีษะ - สมุดฝากครรภ์สีชมพู เพื่อดูการได้รับวัคซีน
 

มอบ ธ.ธง นมแม่แน่กว่าใคร




แก่ คุณแม่ จิรภา ฐานบำรุงรักษ์ ที่เลี้ยงดูแลบุตรด้วยน้ำนมตนเอง


 

 
 
คุณจิรภา ฐานบำรุงรักษ์ และเด็กหญิงวิรดา  ตุ้มวิจิตร 
 
 

ปัจจุบัน (10-6-56)  น้องมีนมีสุขภาพดี ไม่ป่วย


 

 
ธ. ธงนมแม่ แน่กว่าใคร (เฉพาะ หมู่ที่1 ต.ปลวกแดง)
 
              อสม.หมู่ที่ 1 ปลวกแดง จะมอบให้แก่ คุณแม่ที่เลี้ยงดูบุตรด้วยนมตนเอง
              เพื่อเป็นกำลังให้คุณแม่ในการเลี้ยงบุตรโดยไม่ต้องเสริมด้วยนมผง
              เพื่อเป็นแบบอย่างให้คุณแม่วัยใส
              เพื่อให้คนในชุมชนรู้ว่า บ้านนี้เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมของตนเอง
              ซึ่ง ธ. ธงนมแม่แน่กว่าใคร เราได้มอบให้คุณแม่จิรภา เป็นคนแรก เพราะคลอดน้องตอนช่วงเรากำลังคิดโครงการนี้ขึ้นมา  ซึ่งต่อไปนี้ ถ้าบ้านใครมีบุตรคลอดมาและคุณแม่เลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมตัวเอง  อสม. ของเราก็จะตามไปมอบ
ธ. ธง นมแม่แน่กว่าใคร

กรณีของคุณวิยะดา เหล่าชุมพล อสม.เราจะมอบ ธ.ธงนมแม่-แน่กว่าใคร ให้เมื่อน้องอายุ 2 เดือน ค่ะ