วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อสม.หมู่ที่ 1-6 อบรม อสม.เชี่ยวชาญ ควบคุมไข้เลือดออก

วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน 2556  เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม อบต.ปลวกแดง

   วันนี้ อสม.ตำบลปลวกแดง ได้มารับการอบรม อสม.เชี่ยวชาญ เรื่องการควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผู้บรรยาย คุณ ธีรยุทธ  กล่ำสีดา จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จ.ระยอง กรมควบคุมโรค
กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ดังนี้

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2556

    จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 25/06/2556 (สัปดาห์ที่ 25)
  • จำนวนผู้ป่วย54,042ราย
  • จำนวนผู้ป่วยตาย62ราย
  • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 84.34
  • อัตราตายต่อแสนประชากร 0.1
  • อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.11
ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าปี 2555

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2556

    จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 2013-06-25 (สัปดาห์ที่ 25)
  • จำนวนผู้ป่วย54,042ราย
  • จำนวนผู้ป่วยตาย62ราย
  • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 84.34
  • อัตราตายต่อแสนประชากร 0.1
  • อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.11

 
ผู้เขียนได้จดบันทึกมา ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ แต่อยากถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาวันนี้ ให้ผู้ที่สนใจ

จากการที่ ผู้บรรยาย ได้ออกมาสำรวจแหล่งลูกน้ำยุงลาย บริเวณสี่แยกลุงอุ้ย  อ.ปลวกแดง เมื่อเดือน มีนาคม และพฤษภาคม 2556 พบว่า มีดัชนีลูกน้ำยุงลาย เกินค่ามาตรฐาน

จังหวัดที่มีผู้เป็นไข้เลือดออกมาที่สุด ได้แก่ สงขลา ภูเก็ต พังงา กระบี่

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดระยอง  (ขอบคุณ : มติชนออนไลน์)

       ไข้เลือดออกระบาดหนักใน จ.ระยอง ตาย 2 ราย ป่วย 667 ราย สธ.เร่งฟื้นความรู้แก่เจ้าหน้าโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราผู้เสียชีวิตในอนาคต

            วันนี้ (6 กรกฎาคม) นพ.กฤษณ์ ปาลสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 18,569 ราย เสียชีวิต 19 ราย โดย จ.ระยอง มีผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก
667 ราย และใน อ.เมือง พบผู้ป่วยมากที่สุด 435 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.22 ของผู้ป่วยทั้งจังหวัด

            ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุข จ.ระยอง จึงได้ร่วมกับหน่วยควบคุมโรคติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า ระยะเวลาเพียงแค่ 13 วัน กลับมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 117 ราย นับว่าเป็นการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมาก ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุข จ.ระยอง จึงร่วมกับ โรงพยาบาลระยอง จัดอบรมฟื้นฟูวิชาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) จ.กรุงเทพฯ มาให้ความรู้ ซึ่งคาดหวังว่าบุคลากรโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง รวมถึงโรงพยาบาลเอกชนอีก 3 แห่ง ใน จ.ระยอง จะได้รับการฟื้นฟูองค์ความรู้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

            อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษณ์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย รายแรกเป็นผู้ป่วยจากโรงพยาบาลบ้านฉาง จากผลเลือดพบว่าเป็นโรคชิกุนคุนยา ซึ่งเป็นโรคที่มาจากยุงลายเหมือนกับโรคไข้เลือดออก แต่เป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน ส่วนรายที่ 2 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน นาน 4 วัน และเสียชีวิตขณะกำลังย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลระยอง ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้มีอายุมากกว่า 15 ปี แสดงว่าโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน สามารถระบาดได้ทั้งในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย หรือกลุ่มนักศึกษาด้วย



อำเภอในจังหวัดระยอง ที่พบว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก ได้แก่ อ.นิคมพัฒนา บ้านค่าย ปลวกแดง แกลง
และพบมากในผู้ป่วยอายุ 15-24 ปี

การติดต่อ
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส เด็งกี่ (Dengue) ซึ่งมี ทั้งหมด 4 เด็งกี่ คือ เด็งกี่ 1 - เด็งกี่ 2 - เด็งกี่ 3 และเด็งกี่ 4  คนนึงจะสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง เพราะว่าถ้าเป็นในสายพันธุ์หนึ่งแล้ว จะไม่เป็นอีก มีภูมิคุ้มกันแล้ว
การจะไปไข้เลือดออกได้  ต้องโดนยุงลายกัด


ขอบคุณภาพจาก   สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 


ไข้เลือดออก ไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษา จะรักษาตามอาการเท่านั้น

าการ
 ไข้สูง - เลือดออกตามไรฟัน - ผิวหนัง - จมูก - ทวารหนัก - ฉี่เป็นเลือด - ตับโต พบในเด็ก - เกิดภาวะช๊อค

 
ขอบคุณภาพจาก   สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 

ยุงลายมี 2 ชนิด
1.ยุงลายบ้าน
2.ยุงลายสวน

ยุงลายบ้าน อันตรายมากกว่า ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์

ยุงลายบ้าน  - สามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้
                 - สามารถดูดเลือดคนได้หลายๆครั้ง
                 - ไข่ได้ครั้งละ 100-150 ฟอง

ผู้เขียนได้ถ่ายรูปไข่ยุงลายมาด้วย

 
 
 
ยุงลายสามารถวางไข่เหนือน้ำในโอ่งได้ จากนั้นก็รอให้มีน้ำเข้ามา จากนั้นก็ฟักเป็นตัว
 
ขอบคุณภาพจาก สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 
 
 
วงจรชีวิตยุงลาย
 
 
ขอบคุณภาพจาก สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี 
 
การป้องกันการระบาด
ป้องกันก่อนการระบาด -------> ทำในหน้าแล้ง  ----คว่ำภาชนะ ---ปล่อยปลา
หลังจากการระบาด  ---------->  กำจัดยุงที่บิน ฆ่ายุงที่มีเชื้อ จะทำเมื่อมีผู้ป่วย-----เป็นการพ่นสารเคมีกำจัดตัวเต็มวัย
 
ทีนี้เรามาเข้าเรื่อง บทบาทของ อสม.ต่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
 
อสม.สามารถทำอะไรได้บ้าง เมื่อเกิดไข้เลือดออกระบาดในชุมชนของตนเอง
 
1. หามาตรการทางสังคม เช่น เมื่อสำรวจพบลูกน้ำยุงลาย ให้ทำสัญญลักษณ์ไว้เช่น ติดธงสี
 
2. ออกสำรวจลูกน้ำ และพาชาวบ้านทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 
 
3. ทำลายการเกิดยุงทุก 7 วัน
4. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวบ้าน เรื่องป้องกันโรค
 
5. เพาะพันธุ์ปลากินลูกน้ำแจกตามหมู่บ้าน
 
6.ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรไล่ยุง
 
7.ให้มีการทำสเปรย์ตะไคร้หอมใช้เองภายในบ้าน
 
8.ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชน เช่น แจกแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว  การประชุม-การอบรมต่างๆ
 
9. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือนทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
 
 

 
 
 
 
 
 

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น