วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคอ้วนในเด็ก

สวัสดีค่ะ

 วันนี้นั่งทำ power point เกี่ยวกับผลงานของ อสม. หมู่ที่ 1 ต.ปลวกแดง จำนวน 14 แผ่นสไลด์ เสร็จเรียบร้อย พร้อมในการนำเสนอ วันศุกร์ที่ 26 กรกฏาคม 2556 ในวันประชุม อสม.ของปลวกแดง ณ. โรงพยาบาลปลวกแดง



หน้าปก..ของการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

     เมื่อเสร็จจากงานนี้ ทำให้นึกถึงลูกสาวที่เรียนอยู่ รร.กวงฮั๊ว เมื่อเช้าเธอ จามออกมาแรง พร้อมมีน้ำมูกสีเขียว อาการหวัดยังไม่หายดี หลังจากเป็นมาจะครบ 2 อาทิตย์แล้ว จะโทษว่า ฟ้าฝน ก็ไม่ได้ เธอทั้งทานยา ดื่มน้ำอุ่น อาบน้ำอุ่น ก็ยังไม่หายจากอาการหวัด ทำให้ผู้เขียนมานึกอยากเขียนเรื่องโรคเกิดในเด็ก โดยเฉพาะกับลูกสาว (ด.ญ อมลวรรณ เกตุมาลา) จะเขียนเป็นหัวข้อๆ โดยการค้นคว้าจากอินเตอร์เนต พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มา แล้วสรุปให้ได้ใจความ ถ้า อสม. มาอ่านแล้ว เข้าใจ สามารถ นำไปถ่ายทอดให้คนชุมชนได้ โรคแรก ก็คือ โรคอ้วน


โรคอ้วน

          โรคอ้วน คือ ภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างการได้รับพลังงานพฤติกรรมการกินที่ไม่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันนั่นเอง

โรคอ้วน
ใน เด็กถือได้ว่าเป็นโรคที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ แต่ภาวการณ์กินอย่างไม่เหมาะสม สร้างโรคอ้วนได้มากกว่ากรรมพันธุ์อีก

อาหาร - อาหารฟาสฟู้ดส์ อาหารขนมถุงอบกรอบ อาหารประเภทที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ และอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบมาก เช่น เบเกอรี่ ชีส เนย

เครื่องดื่ม - น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือแม้กระทั่งนมเปรี้ยวก็มีปริมาณน้ำเชื่อมมาก นั่นทำให้มีระดับน้ำตาลที่มากตามไปด้วย

ลักษณะอาการและผลกระทบ
                       สภาพร่างกายเจ้าเนื้อ น้ำหนักขึ้นเกินกว่ามาตรฐานปกติ อาจจะมีสัญญาณบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น ปวดข้อเท้า เพราะข้อเท้าต้องรองรับน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป อาการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ เพราะเด็กอ้วนจะมีท่อทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ และเด็กที่เป็นโรคอ้วนจะเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติอีกด้วย โรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่เล็กๆ โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ


อาหารที่เหมาะสมกับเด็กเพื่อป้องกันโรคอ้วน

        • เนื้อสัตว์ - ควรเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เมนูอาหารปลา เพราะเนื้อปลามีไขมันต่ำกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ
        • ไข่ - เด็กๆ ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง
        • นม - เด็กสามารถดื่มนมวันละ 2-3 แก้วหรือกล่องได้ แต่ถ้าคนไหนอ้วนอยู่แล้วควรเปลี่ยนมาเป็นนมพร่องมันเนยแทน
        • ไขมัน และน้ำมัน - แนะนำการใช้น้ำมันพืชเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ฯลฯ ยกเว้น น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวในการปรุงอาหารสลับกับการประกอบอาหารด้วยวิธี ต้ม นึ่งบ้าง
        • ข้าวสวย และอาหารแป้งอื่นๆ - เด็กวัยนี้ไม่ควรกินแป้ง หรือข้าวเกิน 6 ทัพพี/วัน
        • ผัก - ควรให้เด็กได้กินพืชผักในปริมาณที่มากๆ หรือประมาณวันละ 1-2 ถ้วยตวง โดยเฉพาะผักใบเขียว และผักอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง กะหล่ำปลี ฯลฯ
        • ผลไม้ - พยายามจัดเมนูให้ลูกได้กินผลไม้สดๆ สักมื้อละ 1 ส่วน (ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่) เช่น ส้มเขียวหวาน 1 ผล หรือเงาะ 4 ผล หรือฝรั่งครึ่งผล (ขนาดกลาง) ฯลฯ

อาหารที่ควรเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

        • แฮมเบอร์เกอร์
        • โดนัท
        • ไก่ชุบแป้งทอด
        • มันฝรั่งทอด
        • น้ำอัดลม
        • ข้าวโพดอบเนย
        • วุ้นผงสำเร็จรูป และเยลลี่
        • ไอศกรีม
             คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอาหารดีต่อสุขภาพ บริโภคให้เหมาะสมตาม ควรสร้างนิสัยการออกกำลังกายที่ดีแก่เด็ก ชวนเจ้าหนูออกกำลังกายสักอาทิตย์ละ 2 – 3 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที โดยเฉพาะการพาไปสนามเด็กเล่น จะช่วยได้มากทีเดียว เพราะลูกจะรู้สึกสนุกด้วย

ที่มา :  http://www.momypedia.com

         ในส่วนของ ผู้เขียนเอง เลี้ยงบุตรสาวมา ด้วยนมของตนเองมา น้ำหนักของบุตรสาวเกินมาตรฐาน ตั้งแต่อายุ 1 เดือน ซึ่งตัวผู้เขียนก็แปลกใจว่า ในเมื่อทานนมแม่อย่างเดียว ทำไมถึงน้ำหนักเยอะนัก พออายุได้ 6 เดือน ลำตัวเป็นปล้องๆ ทำให้กลุ้มใจมาก เพราะหลังจาก อายุ 6 เดือน (น้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัม)  ต้องเสริมอาหารให้ทานควบคู่กับนมแม่แล้ว  จากวันนั้นจนถึงวันนี้ บุตรสาวของผู้เขียนหายจาก การเป็นปล้องๆ ตามลำตัวแล้ว แต่แก้มของเธอ ไม่ได้ลดลง

   
                                                                          อายุ 6 เดือน
 
 
 
อายุ 11 เดือน
 

อายุ 1 ขวบ 11 เดือน
 


                                             ปัจจุบันอายุ 3 ขวบ 6 เดือน น้ำหนัก 20 กิโลกรัม

                     ผู้เขียนเองพยายามพาออกกำลังกาย ควบคุมอาหารบ้าง เป็นธรรมดาของเด็ก ที่ต้องอยากกินของหวาน แต่ผู้ปกครอง ต้องใจแข็งไว้ ผู้เขียนเคยไปปรึกษาคุณหมอ คุณหมออธิบายเรื่องการออกกำลังกายว่า ต้องให้น้องวิ่ง ตึกๆ เพื่อให้กระดูกได้สะเทือน แล้วน้องจะสูงขึ้น ตอนนี้เราให้น้องลดน้ำหนักไม่ได้ แต่เราต้องพยายามทำให้น้องสูงขึ้น   ส่วนเรื่องทานนม ตอนนี้น้องตังเม ทานนมสด ไขมันนม 0% (น้องไม่เคยทานนมผง) ถ้าไปโรงเรียน จะทานนมเช้าเย็น แค่ 2 มื้อ ประมาณ180 มล./มื้อ ถ้าไม่ไปโรงเรียน จะทาน เช้า-สาย-บ่าย-เย็น ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า อย่าซื้อนมปริมาณมาก ให้ซื้อน้อยๆ เพราะถ้าน้องเห็น น้องก็จะขอทานนมทั้งวัน ซึ่งผู้เขียนก็ทำตามคำแนะนำของุคุณหมอ ใครมีเรื่องเด็กอ้วน มาแชร์กันได้นะคะ เพื่อเป็นความรู้ต่อไปค่ะ......
                 






วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นมแม่และการให้นมแม่

สวัสดีค่ะ

          วันนี้หลังจากเขียนเรื่องโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จบลงไปอีก 1 เรื่อง  เวลา 15.30 น. เดินทางไปรับลูกกลับจากโรงเรียน แล้วพาลูกสาวไปเล่นสนามหญ้า มีผู้ปกครองถ้าผู้เขียนว่า ลูกสาวกินนมแม่ถึงอายุกี่เดือน ตัวโตมากเลย ผู้เขียนตอบว่า 2 ขวบ 11 เดือน หลังจากนั้นเสริมนมสด ไขมัน 0% ให้ทาน ผู้ปกครองท่านนั้นพูดมาว่า งั้นเค้าก็แข็งแรงมากนะสิ ผู้เขียนก็ได้แต่ยิ้ม
          บุตรสาวของผู้เขียนเป็นเด็กอารมณ์ดี หน้าตายิ้มแจ่มใส สุขภาพดี ไม่เคยป่วยถึงขนาดเข้านอนโรงพยาบาล ไม่เคยได้รับวัคซีนเสริมต่างๆ

บุตรสาววัย 11 เดือน สุขภาพแข็งแรง
สถานที่ : ดอยเสมอดาว อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
บุตรสาววัย 2 ขวบ 11 เดือน พอง่วงนอนก็คิดถึง นมแม่
สถานที่ : สวนสัตว์โคราช
 "นมแม่"  
 
       ผู้เขียนมีความภาคภูมิใจที่ได้เลี้ยงบุตรสาว ด้วยนมของตนเอง วันนี้ดีใจมากที่ได้เขียนเรื่องนมแม่ และได้พยายามค้นคว้า เรื่องของนมแม่และการให้นมแม่ เพื่อเป็นความรู้พื้นฐาน ในการอธิบายเรื่องนมแม่ แก่หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในชุมชน ดังนี้ 
        นมแม่เป็นนมที่เหมาะสมกับทารกตั้งแรกเกิด เพราะมีสารอาหารที่เหมาะสมพร้อมทั้งภูมิต้านทานที่ช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย อีกทั้งช่วยคุณแม่ประหยัด ไม่เสียเวลาในการชง สามารถเข้าปากลูกและดูดกลืนน้ำนมได้ทันที นมแม่ที่เรียกได้ว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหารครบถ้วนที่สุด คือ ช่วงหลังคลอดที่จะมีน้ำนมเหลืองออกมาเรียกว่า โคลอสครัม (Colostrum) ถือเป็นหัวน้ำนมชั้นยอดของลูก เนื่องจากให้สารอาหารพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอดี และสร้างภูมิต้านทานต่อเนื่องจากในครรภ์ได้อีกด้วยส่วนใหญ่แล้วนมแม่จะมาประมาณ 3-4 วันหลังคลอด ซึ่งก็จะเป็นช่วงที่ทารกกำลังนอนขี้เซาและปรับตัวกับโลกใบใหม่อยู่พอดี จากนั้นเข้าสู่วันที่ 7 ฮอร์โมนของคุณแม่ก็จะหลั่งช่วยเร่งสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูก และการให้ลูกดูดนมเร็วหรือช้าค่อนข้างมีผลในการกระตุ้น เพราะหากคุณแม่ให้ลูกดูดนมบ่อยก็จะถือเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมสำหรับมื้อต่อไปเยอะขึ้น อีกทั้งลูกก็จะคุ้นเคยกับหัวนมเร็วขึ้นด้วย
 
        แม่ควรให้ลูกอมดูดนมตั้งแต่หัวนมจนถึงลานนม เพื่อให้ลูกช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนมที่กระจายอยู่ทั่วเต้านม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหัวนมแตกได้ด้วย และการให้นมที่ดีควรให้ทุก 4 ชั่วโมงโดยสามารถสลับเต้าได้ เพราะปริมาณน้ำนมจะผลิตออกมาเพียงพอ และเมื่อลูกได้ดูดเต็มอิ่มก็จะนอนหลับยาว
 
        นมแม่ช่วงทารกแรกเกิด – ช่วงแรกทารกจะเอาแต่นอนหลับ และจะดูดนมอยู่ประมาณครั้งละ 5 นาที จากนั้นก็จะนานขึ้น 10 นาที และ 20 นาทีตามลำดับ เมื่อลูกดูดนมมากขึ้นนมของแม่ก็จะคัดตึงเพราะเริ่มมีน้ำนมมากขึ้น คุณแม่จะมองเห็นว่าลูกดูดนมอย่างมีความสุขไปเรื่อยๆ ราว 30 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมแบละไม่ควรให้ลูกดูดนมแต่ละครั้งนานกว่านี้
          ทารกอายุ 4-6 สัปดาห์ – หากทารกไม่ได้นมแม่ในช่วงนี้อาจจะทำให้ป่วยและรับเชื้อโรคได้ง่าย โดยเฉพาะระบบหายใจและทางเดินอาหาร
          ทารกอายุ 6 เดือน – ทารกจะมีภูมิคุ้มกันอย่างดี และไม่แพ้อาหารง่าย เนื่องจากวัยนี้ต้องเริ่มต้นอาหารเสริมเพิ่มเติมจากนมแม่ได้บ้างแล้ว
          ทารกอายุ 9 เดือน – นอกจากนมแม่จะมีสารอาหารมากมายแต่ลูกต้องการอาหารเสริมอย่างน้อย 2 มื้อต่อวันแล้ว แต่สิ่งที่ลูกจะได้รับจากนมแม่คือความอบอุ่นและความปลอดภัยทุกครั้งที่ดูดนมแม่ ที่ถือว่าเป็นความมั่นคงทางจิตใจตั้งแต่วัยเริ่มต้น
          อายุ 1 ปี – การดูดนมของลูกจะค่อยๆ ลดบทบาทลงไปและหันมารับสารอาหารจากอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อ ซึ่งเด็กจะได้ทักษะการดูด เคี้ยว กลืน จากการดูดนมแม่ตั้งแต่วัยทารก
 
         การกินให้พอดีคือการกินให้อิ่ม นอนหลับสบายไม่งอแง น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ก็เพียงพอ เพราะการบอกจำนวนคงเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่กินนมจากเต้านมแม่ แต่เรามักใช้เกณฑ์ที่ว่าให้กินนมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20-30 นาที และให้ได้น้ำนมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และจำนวนครั้งจะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น
 
        รู้ได้อย่างไรว่านมแม่ไม่พอ
  • น้ำหนักลูกไม่ขึ้น - ถ้าน้ำหนักของลูกไม่ขึ้นหรือลดลง อาจประเมินได้ว่าน้ำนมไม่พอ ในช่วงแรกควรให้ลูกกินได้สัก 10 ครั้งต่อวัน พอโตขึ้นก็จะลดความถี่ลงไป การกินแต่ละครั้งควรให้กินนานสัก 20 นาทีโดยกินสม่ำเสมอไม่ใช่กินไปหลับไป ถ้าลูกหลับก็ต้องปลุกให้ตื่นด้วย
  • ลูกปัสสาวะน้อย - เพราะถ้าลูกกินได้มากก็จะปัสสาวะมากและบ่อยขึ้น ในวันหนึ่งลูกควรปัสสาวะ 6-8 ครั้งเป็นอย่างน้อย
  • ลูกอุจจาระน้อย – ถ้าน้ำนมไม่พอการถ่ายอุจจาระจะเหลือกากอาหารน้อย แต่ถ้าไม่ถ่าย 3-4 วันแต่เมื่อถ่ายก็ออกมาปกตินิ่มๆ เป็นสีเหลือง อุจจาระมีสีเหลืองเหลวละเอียดดีถือว่าไม่มีปัญหาอะไร -
       กระตุ้นเพิ่มน้ำนมอย่างไรก่อนให้ลูกกินนม
         คุณแม่ควรประคบผ้าร้อนสัก 10 นาที นวดเบาๆ รอบๆ เต้านมโดยใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงกลมรอบๆ เต้านม คลึงหัวนมเบาๆ ด้วยปลายนิ้วโป้งกับนิ้วชี้
  • ให้ลูกดูดจากเต้านมแม่บ่อยขึ้นและนานขึ้น
  • ให้ลูกดูดนมจากเต้าของแม่ทุก 3 ชั่วโมง นานอย่างน้อย 20 นาที
  • ให้ลูกกินนมทีละข้างให้หมดหรือรู้สึกเบาแล้วจึงต่ออีกข้าง(ถ้าลูกยังต้องการ)
  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 8 แก้ว ส่วนจะเพิ่มซุปไก่ดำ ยำหัวปลี แกงเลียง ก็ทำได้ทั้งหมดไม่มีอะไรขัดข้อง
         ประโยชน์ของนมแม่  6 เดือนแรก    
 
       เป็นช่วงสำคัญในการสร้างรากฐานและการเจริญเติบโตของสมองลูก อีกทั้งร่างกายของลูกก็ยังมีข้อจำกัด อาทิ ความจุของกระเพาะอาหารยังน้อย , ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง , ระบบการย่อยและการดูดซึมยังพัฒนาไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำย่อยแป้ง ไขมัน โปรตีน ต้องเลย 6 เดือนไปแล้วถึงจะพัฒนาเต็มที่ เพราะฉะนั้นถ้าเด็กไปกินอาหารอื่นก็จะทำให้การย่อยอาหารไม่ดีพอ
 
      โครงสร้างของเซลล์ในลำไส้ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ทำให้มีช่องว่างของเซลล์ ถ้าลูกกินอาหารอื่นเข้าไปก็อาจจะหลุดเข้าไปในช่องว่างนั้น และเข้าไปในกระแสโลหิตได้ และจะทำให้เกิดการแพ้ เช่น แพ้โปรตีนนมวัว รวมทั้งเชื้อโรคก็เล็ดลอดเข้าไปได้ เพราะภูมิคุ้มกันน้อยลง รวมทั้งสมรรถภาพของตับ ไต ยังไม่แข็งแรงดีพอในการรับอาหารอื่นด้วยทั้งนี้
 
       หลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ศึกษาเป็นระยะเวลานานเกือบ 6 ปี จึงประกาศให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพราะดีต่อสุขภาพร่างกายลูกหลายๆ ด้าน และหากคุณแม่ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนเต็ม จะมีผลดีกับลูกและแม่มากกว่าให้กินแค่ 4 เดือน คือ
  • ลูกได้อาหารไปเลี้ยงสมองที่เหมาะสมและนานขึ้น นมแม่จะมีคุณภาพดีกว่า เพราะในนมแม่มีไขมันชนิดพิเศษ คือกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง
  • ลูกมีอาการท้องเสียและติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจน้อยกว่า มีข้อมูลว่าเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีโอกาสท้องเสียและปอดบวมน้อยกว่าเด็กที่ได้นมแม่อย่างเดียว 4 เดือนประมาณ 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้นมแม่อย่างเดียว
  • ทำให้คุณแม่ไม่ขาดธาตุเหล็ก เพราะมีระยะปลอดประจำเดือนนานขึ้น และร่างกายของลูกจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่ได้ถึง 50% แต่ถ้ากินอาหารเสริม เช่น ข้าวและกล้วยด้วย จะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กในนมแม่ลดลงเหลือเพียง 10%
  • ทำให้คุณแม่มีน้ำหนักลดลงหลังคลอดได้เร็วกว่า และช่วยเรื่องคุมกำเนิดซึ่งมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์เพียง 1% เท่านั้น แต่ต้องตามหลักการนี้คือต้องกินนมแม่อย่างเดียว และไม่มีประจำเดือน เพราะการมีประจำเดือนแสดงว่ารังไข่เริ่มทำงาน
  • ในขณะที่ลูกกินนมแม่ จะได้รับอ้อมกอดคุณภาพวันละ 8-10 ครั้ง ลูกน้อยจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รับรส ได้รู้การเคลื่อนไหว ช่วยกระตุ้นโครงข่ายเส้นใยประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
  • เด็กที่กินนมแม่ป่วยน้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม 2 ถึง 7 เท่า
  • ทำให้เด็กมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตได้ดี
  • ทารกที่ได้ดื่มน้ำนมจากอกแม่โดยตรงจะมีความรู้สึกดี ปลอดภัย รัก ผูกพัน และอุ่นใจ เพราะการให้นมแม่แต่ละครั้งต้องมีการโอบกอดลูกแนบอก ทารกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น ซึ่งเป็นเสียงที่คุ้นเคยเหมือนได้อยู่ในท้องแม่อีกครั้ง เกิดความสุขใจความไว้เนื้อเชื่อใจ และความอบอุ่น ฉะนั้นชีวิตในวันข้างหน้าของเด็กก็จะมีความมั่นคงทั้งทางอารมณ์และจิตใจ
 
       

 
 คุณแม่เลี้ยงน้องน๊อตมาด้วยนมตนเอง ถึง 6 เดือน
 ปัจจุบัน น้องน๊อต อายุ 8 เดือนแล้ว ยังไม่ป่วยเลย
น้องน๊อต มีสุขภาพที่แข็งแรง
คุณแม่เองก็ต้องไปทำงาน คุณแม่ขยันปั๊มน้ำนม
เพื่อให้คุณพ่อ นำนมมาให้น้องน๊อตทาน
 
 
คุณพ่อของน้องน๊อต พิการ ที่แขนซ้าย
เป็นคนเลี้ยงน้องน๊อตมา
โดยมีเรา อสม.แป้ว ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้

ร่วมกิจกรรมแห่เทียนพรรษา ปี2556

               วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่เรา อสม. ทั้งตำบลปลวกแดงได้แก่ อสม.หมู่ที่ 1-6 และ อสม.จากเขตเทศบาล มาร่วมกันแห่เทียนพรรษา กับ องค์การบริหารส่วนตำบลปลวกแดง ข้าราชการ ลูกจ้าง โรงเรียน กลุ่มสตรีปลวกแดง และภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ  ในปีนี้ ดูคึกคักเป็นพิเศษ เพราะมีการแต่งชุดผ้าไทยด้วย ส่วน อสม.เรา ก็เน้น เสื้อ อสม. เหมือนเดิม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเรา เริ่มจาก เราซึ่งเป็น อสม. หมู่ที่ 1 ถ่ายภาพกับ รถขบวนซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม

อสม. นภา-แป้ว-ส้ม-หมี-จิ๋ม


ถ่ายภาพกับ ประธาน อสม.ตำบล คนใหม่
พี่ติ๋ง หรือพี่กัณฑ์สิณี
สมาชิก อสม. ถ่ายภาพหมู่
กับ พนักงาน บ.เจนเนอรัล มอเตอร์(ประเทศไทย)

อสม.แหม่ม แห่ง หมู่ที่ 1 ฝั่งซอย 4 เดินถือป้าย
อ่ะ ..สงสัยจะร้อนแน่เลย
  

 อสม. เรา ทำได้เยอะ !!! 


ทุกกิจกรรม เราสามารถมาร่วมงานได้ ถ้าว่างจากภาระกิจงาน โดยเฉพาะงานเพื่อสังคม
อสม.เรา ยินดีรับใช้ค่ะ
 
วันศุกร์ที่ 26 กรกฏาคม 2556 อสม.หมู่ที่ 1-6 ต.ปลวกแดง เรามีประชุมกันนะคะ
ณ. ห้องประชุม ชั้น 3 โรงพยาบาลปลวกแดง
 
ยังมีหลายภาพค่ะ นำมาลงไว้ ให้พวกเราได้ดูกัน
 
 
 
สวย !!
 
นางรำเรา แขนตกซะละ
 
*******
กลุ่มสตรี ปลวกแดง งาม ในชุดผ้าไทย
 
จบไปอีกหนึ่งกิจกรรม................อสม.หมู่ที่ 1
 
----------------@-_-@-----------------
 
 





















วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคเลือดจางธาลัสซีเมียในเด็ก

สวัสดีค่ะ

   วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่คิดว่า จะเขียนเรื่องอะไรดี แล้วก็ย้อนนึกถึง อยู่  2  เรื่อง  ดังนี้
    เรื่องแรก  ผู้เขียนที่เคยไปแข่งขันทักษะ อสม.ดีเด่น ที่จังหวัด ระยอง  มีคำถามเกี่ยวกับโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย  แล้วตัวผู้เขียนตอบไม่เคลียร์ จึงทำย้อนกลับมาทำการบ้านใหม่อีกครั้ง โดยกลับมาดูสมุดสีชมพู (สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แต่ก็ยังเฉยๆ กับข้อมูลเรื่องนี้
    เรื่องที่สอง ผู้เขียนได้ไปรอเจ้าหน้าที่ ที่ห้องฝากครรภ์ ระหว่างนั่งรอ หูก็ได้ยินเจ้าหน้าที่พูดถึงโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย กับผู้มาฝากครรภ์พร้อมสามี  ทุกคู่ที่มา ผลตรวจเลือด ส่วนใหญ่ทั้งคู่มีเป็นพาหะ หรือ เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียแฝง ไม่ว่าจะเป็นชาวกัมพูชา หรือ คนไทย ผู้เขียนจึงถามเจ้าหน้าที่ว่า โรคนี้ เป็นกันเยอะเลยมั๊ย คำตอบที่ได้ คือ เยอะมาก
    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เขียนสนใจอยากรู้เรื่องนี้ขึ้นมา และหาข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย  แต่จะไม่ลงรายละเอียดมากนัก อาศัยตามความเข้าใจของผู้เขียนและแหล่งข้อมูลที่ได้นะคะ

    โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย คืออะไร

            โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้โดยทางกรรมพันธุ์ และมีการสร้างฮีโมโกลบิน ทำให้เม็ดเลือแดงมีลักษณะผิดปรกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะได้รับยีนที่ผิดปรกติของพ่อ และแม่

     เม็ดเลือดแดงปรกติ
    เม็ดเลือดแดงที่มีเบต้าธาลัสซีเมีย-ฮีโมโกลบินอี   
      เม็ดเลือดแดงที่มีฮีโมโกลบิน

    ที่มา : http://www.thalassemia.or.th/1.htm

    ธาลัสซีเมีย มี 2 แบบ
    1. พาหะ ไม่แสดงอาการของโรค สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปกติ แต่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้

    โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4
    โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะ เท่ากับ 50% หรือ 2 ใน 4
    โอกาสที่ลูกปกติ เท่ากับ 25% หรือ 1 ใน 4

    ที่มา : สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ,2553

    2. เป็นโรค แสดงอาการของโรค เช่น ซีด เหลือง ท้องโตเพราะม้าม ตับดต ผิวหนังคล้ำ ตัวเล็กผิดปกติ และต้องเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้


    ที่มา : สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ,2553

    ใบหน้ามีลักษณะผิดปรกติ หรือที่ทางแพทย์เรียกว่า "ใบหน้าธาลัสซีเมีย" คือดั้งจมูกแฟบ ตาห่างกัน กระดูดโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรด้านบน นูนแน่น ถ้าซีดมากจะมีอาการเหนื่อย ต้องให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงมากอาจต้องให้เลือดทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกเดือน และจะทำให้เลือดที่ได้รับไปมากๆ ไปทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ และเกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น ตับแข็ง เบาหวาน เป็นต้น 

       รูปแสดงอาการของผู้ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย        
    ที่มา : http://www.thalassemia.or.th/1.htm

    ชนิดของโรค  มี 3 ชนิด
    1. ชนิดรุนแรงที่สุด ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด
        ทารกมีลักษณะบวมและซีด รกมีขนาดใหญ่ ท้องป่องตับโตมาก ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์คือ ครรภ์เป็นพิษ มีความดันเลือดสูง บวม มักมีการคลอดที่ผิดปกติ และมีการตกเลือดหลังคลอดด้วย
       ที่่มา : http://www.thalassemia.or.th/2-2.htm


          2. ชนิดรุนแรง  แรกเกิดจะไม่มีอาการ จะสังเกตุเห็นเด่นชัดเมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน อาการสำคัญ คืออ่อนเพลีย ซีด ท้องป่อง ม้ามตับโต มักซีดมากจนต้องได้รับเลือดเป็นประจำ

           
     
    รูปผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมีย แบบรุนแรง    
         ผู้ป่วยกลุ่มนี้แรกเกิดปกติ จะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ภายในขวบ ปีแรก อาการสำคัญคือ ซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง ม้ามและตับโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยน จมูกแบน โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบางเปราะหักง่าย ร่างกายแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สมอายุ ในรายที่ซีดมากจำเป็นต้องได้รับเลือด แต่เนื่องจากในเลือดมีธาตุเหล็กมาก ฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับเลือดบ่อย ๆ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ มีธาตุเหล็กเกิน ไปสะสมในอวัยวะต่างๆ มีผลทำให้ผิวคล้ำ เป็นตับแข็ง เบาหวาน หัวใจล้มเหลว เป็นต้น 
    รูปผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมีย แบบไม่รุนแรง

           3. ชนิดปานกลางและชนิดรุนแรงน้อย จะซีดมากขึ้นเมื่อเป็นไข้

    http://www.thalassemia.or.th/2-1.htm

    รู้ได้อย่างไรว่า ลูกในท้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย
    1.  ฝากครรภ์ทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์
    2. เข้ารับคำแนะนำและคำปรึกษา "ธาลัสซีเมีย" พร้อมสามี จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    3. หญิงมีครรภ์รับการตรวจเลือด หากผลเลือดผิดปกติ ให้ตามสามีตรวจเลือดทันที
    4. หากพบว่า หญิงตั้งครรภ์และสามีมีโอกาสที่ลูกในท้องเป็นโรคธาลัสซีเมีย ชนิดรุนแรงมาก และปานกลาง หญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจทารกในท้องว่าเป็รหรือไม่
    ที่มา : สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ,2553

     เมื่อลูกเป็นธาลัสซีเมีย  ควรทำอย่างไร

     ศ.เกียรติคุณ พญ.วรวรรณ ตันไพจิตร  สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
    Faculty of Medicine Siriraj Hospital  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


                เมื่อสมาชิกใหม่ของครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจนะคะ เพราะโรคนี้หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี ลูกน้อยของคุณก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขเหมือนคนปกติ สำหรับประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย (ปีละประมาณ 12,000 ราย ซึ่งนับว่าสูงมากทีเดียวนะคะ

               โรคธาลัสซีเมียมีหลายชนิดและรุนแรงแตกต่างกันมาก ทารกที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรงมากจะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเมื่อคลอดเพียง 1 - 2 ชั่วโมง แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นนะคะ เพราะโดยส่วนมากจะพบว่าผู้ป่วยจะมี 2 กลุ่ม คือ
               - ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการไม่มาก แต่จะซีดลงเมื่อมีไข้ ไม่สบาย
               - อาการรุนแรงปานกลาง - รุนแรงมาก ผู้ป่วยจะซีด อาจสังเกตหรือตรวจพบตั้งแต่อายุเพียง 2 - 3 เดือนแรก ถ้ารุนแรงมาก จะมีตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้ามและตับโต ลักษณะกระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป ที่เรียกว่า หน้าธาลัสซีเมียในระยะยาวจะมีกระดูกเปราะหักง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากขึ้นในวัยผู้ใหญ่ คือ นิ่วในถุงน้ำดี โรคข้อ ธาตุเหล็กเกินทำให้มีตับแข็ง เป็นเบาหวาน หัวใจวาย มีการติดเชื้อบ่อย เป็นต้น
    3 วิธี ดูแลรักษาน้องน้อยธาลัสซีเมีย
              
    ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ผู้ปกครองควรได้รับความรู้ คำแนะนำ มีการปรึกษาหารือกับแพทย์ และแพทย์จะต้องวางแผนการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละราย ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาผู้ป่วย 3 แบบ คือ
               1. การดูแลทั่วไป - ผู้ป่วยต้องมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด รับประทานอาการครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะผู้ป่วยมีธาตุเหล็กสูงอยู่แล้ว รับประทานยาวิตามินโฟเลทตามแพทย์สั่ง ในเด็กฉีดวัคซีนได้ครบถ้วนเหมือนเด็กปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนป้องกันตับอักเสบ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหักโหม หลีกเลี่ยงการกระแทกรุนแรงเพราะกระดูกเปราะอาจหักได้ง่าย
               2. รักษาแบบประคับประคอง แพทย์จะให้เลือดในรายที่มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากซีด ในเด็กมักให้เมื่อระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 7 กรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่ออายุมากขึ้นอาจต้องให้เลือดถี่ขึ้น ๆ เพราะม้ามโต ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาตัดม้าม ส่วนเด็กกลุ่มอาการรุนแรงมาก ซึ่งมักมีอาการซีดตั้งแต่ปีแรก และฮีโมโกลบินต่ำมาก ในอดีตส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่ 10 ปีแรก แต่ปัจจุบัน หากผู้ป่วยได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 3 สัปดาห์ จะช่วยให้ระดับเลือดสูงปกติ ส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี อายุยืน ใบหน้าไม่เปลี่ยนรูปและม้ามไม่โต แต่ต้องรับเลือดสม่ำเสมอตลอดไป และต้องรับยาขับธาตุเหล็กร่วมไปด้วย เพื่อขับเหล็กที่เกินออก   ปัจจุบัน ใช้ยาขับเหล็ก Desferal® ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยใช้เครื่องขับยา (ทำงานโดยแบตเตอรี่) วันละ 10 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 - 6 วัน ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงและอายุยืนยาวได้ (มีข่าวดีว่าเร็ว ๆ นี้ จะมียาขับเหล็กชนิดรับประทานใช้ในประเทศไทยด้วย)
               3. รักษาให้หายขาดโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (ไขกระดูก เลือดสายสะดือ เลือดจากเส้นเลือด) ซึ่งได้ผลดี หายขาดถึงร้อยละ 70 - 80 แต่ควรมีผู้บริจาคที่ไม่เป็นโรค (เป็นพาหะก็ได้) และมีลักษณะพันธุกรรมของเนื้อเยื่อ (HLA) ตรงกันกับผู้ป่วย (พี่น้องพ่อแม่เดียวกันมีโอกาสเข้ากันได้ 1 ใน 4) ปัจจุบัน อาจขอผู้บริจาคจากศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย หรือจากต่างประเทศได้ แต่โอกาสที่จะเข้ากับผู้ป่วยได้น้อยกว่าพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน และการรักษาวิธีนี้จะได้ผลดีมากในเด็กเล็ก ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้ด้วย ดังนั้นแพทย์และผู้ปกครองจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกรักษาโดยวิธีนี้  เมื่อมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการดูแลลูกให้ดีที่สุด โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการของโรค แนวทางการรักษาโรค ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ร่วมในการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มแรกที่แพทย์วินิจฉัย ศึกษาหาความรู้เมื่อมีโอกาสจากหนังสือ Website ต่าง ๆ และหากมีข้อสังเกตหรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะแม้มีหลักการในการปฏิบัติตน และการรักษาในโรคนี้ แต่ในรายละเอียดและการปฏิบัติในแต่ละราย อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกัน และถ้าจะมีลูกอีกต้องปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนมีครรภ์นะคะ
               สำหรับ ร.พ.ศิริราช นอกจากสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภ.อายุรศาสตร์ และ กุมารเวชศาสตร์แล้ว ยังมี โครงการพัฒนาระบบสุขภาพสำหรับธาลัสซีเมีย ร.พ.ศิริราช และ มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ยินดีให้คำปรึกษาแก่ท่าน เพียงโทร. 0 2419 7642 3 0 2419 9488 0 2419 8329 และ 02419 7000 ต่อ 5971-3 หรือคลิกดูรายละเอียดและข้อมูลของโรคนี้ได้จากเว็บไซต์
    www.thalassemia.or.th ค่ะ


    ที่มา :  ศ.เกียรติคุณ พญ.วรวรรณ ตันไพจิตร  สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

    ความชุกชุมของธาลัสซีเมียในประเทศไทย

          ตารางข้างล่างแสดงความชุกชุมของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบบ่อยในประเทศไทย

    ตารางที่ 1 ความชุกของธาสัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในประเทศไทย
    ประเภท
    ร้อยละในประชากร
    แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย

    เบต้า ธาลัสซีเมีย
    ฮีโมโกลบิน อี

    ฮีโมโกลบีนคอนสแตน สปริง
    20% ในคนกรุงเทพฯ
    30% ในคนเชียงใหม่
    3-9%
    13% โดยเฉลี่ย
    50% อีสานใต้
    1-8%
    แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย พบสูงมากในคนไทยภาคเหนือและลาว ที่เวียงจันทร์พบสูงถึง 40% ส่วนฮีโมโกลบิน อี นั้นพบสูงในคนเชื้อสายเขมร ตรงรอยต่อระหว่างไทย-ลาว-เขมร พบฮีโมโกลบินฮีสูงถึง 50-60% ในประชากร ส่วนในคนจีนแท้เกือบไม่พบฮีโมโกลบินอีเลย

         ในผู้ที่เป็นพาหะของยีน คือมียีนปกติเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะถ่ายทอดยีนปกติให้หลานเรี่อยลงไป แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนผิดปกติ ลูกบางคนจะได้ยีนผิดปกติตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไปซึ่งอาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้ โรคธาลัสซีเมียจึงเกิดจากการมียีนผิดปกติบางชนิดอยู่พร้อมกันมากกว่าหนึ่งยีน

          โรคธาลัสซีเมียที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. Hb Bart's hydrops fetalis
          2. Hb H disease
          3. Homozygous β-thalassemia
          4. β-thalassemia / Hb E disease

    ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่ละชนิดที่เกิดในแต่ละปีและจำนวนที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ (ฮบ.อี = ฮีโมโกลบิน อี)
    โรค
    จำนวนคู่เสี่ยงต่อปี
    จำนวนเด็กที่เกิดเป็นโรคต่อปี
    จำนวนคนไข้ทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่
    1. เบต้า ธาลัสซีเมีย
    2. เบต้า ธาลัสซีเมีย/ฮบ. อี
    3. ฮีโมโกลบินบาร์ทส
    4.ฮีโมโกลบิน เอ็ซ
    2,500
    13,000
    5,000
    26,000
    625
    3,250
    1,250
    7,000
    6,250
    97,500
    0
    420,000
    รวม
    48,500
    12,125
    523,750
    รวมผู้ป่วยธาลัสซีเมียทุกประเภทที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันประมาณ 523,750 คน
    ที่มา : ศูนย์โรคติดเชื้อและพาหะนำโรค

          ผู้เขียนพยายามหาข้อมูลมาก็เยอะแล้ว และพบว่า อัตราการเกิดธาลัสซีเมีย ในประเทศไทย พบมากขึ้นๆ และยังตั้งคำถามอยู่ในใจว่า ทำไมถึงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องไปหาคำตอบก่อนนะคะ จากผู้รู้ก่อนค่ะ  เพราะว่า ผู้เขียนเองก็ไม่มีความรู้เรื่องมากมาย การเป็น อสม. รู้เท่าที่พอจะตอบคำถามชาวบ้านได้บ้าง เวลาเราลงไปชุมชน แต่ถามเจาะลึกเป็นพิเศษ คงเกินความสามารถของ อสม. อย่างเราค่ะ

           จากใจผู้เขียนบล๊อค   เสาวรัตน์ เกตุมาลา อสม. หมู่ที่ 1 ตำบลปลวกแดง อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

    วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ร่วมทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ อสม.ระดับจังหวัด

    สวัสดีค่ะ

              วันนี้ผู้เขียนจะได้นำเสนอเรื่องการเข้าร่วมทำแผนยุทธศาสตร์ ของชมรมอาสาสาธารณสุขระดับปฎิบัติการ ในจังหวัดระยอง
               ผู้เขียนได้รับเกียรติจากท่านประธาน อสม.อำเภอปลวกแดง ให้เป็นตัวแทนไปร่วมประชุมการทำแผนยุทธศาสตร์ ของชมรม อสม. จังหวัดระยอง เนื่องจากท่านติดภาระกิจในต่างจังหวัด และมอบหมายให้ผู้เขียนไปประชุมแทนที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง
                เมื่อพูดถึง ยุทธศาสตร์ ผู้เขียนเคยได้ร่วมทำแผนกับโรงงานอุตสาหกรรม ทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้ทำงานเกียวกับการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม   และแผนยุทธศาสตร์สุขภาพชุมชนของหมู่บ้าน ซึ่งไปร่วมกับ สมาชิก อสม.ในหมู่บ้าน ในทุกๆ ปี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำทุกปี เพราะปัญหาของชุมชน ไม่เหมือนกันในแต่ละปี และการทำแผนยุทธศาสตร์ในแต่ละครั้ง ต้องใช้เวลามาก เมื่อได้มาทำร่วมทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมกับ ชมรม อสม. จังหวัดระยอง  มีเวลากำหนด การทำแผนยุทธศาสตร์ครั้งนี้ เป็นแบบคร่าวๆ เป็นการให้แนวทางที่สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการ ที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นๆ
    ประธาน อสม.แต่ละอำเภอ เข้าร่วมประชุมทำแผนยุทธศาสตร์

    คุณสุกิจ  มนต์ประสิทธิ์ ประธาน ชมรม อสม.จังหวัดระยอง

     
    พี่อร เจ้าหน้าที่ของ สสจ. ช่วยบันทึกการประชุม



    ผู้เขียนได้หาข้อมูลเพื่อเป็นความรู้แก่ อสม. ถึงเรื่องของการทำแผนชุมชน ซึ่งบางคนยังไม่เข้าใจ แล้วยังมีคำถามตามบ่อยๆ ถึงการทำแผนสุขภาพชุมชน
     
         
                        แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน
    เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและ ร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ      การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคตการสำรวจ  ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนรวมทั้งแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของ ตัวเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล
     
                       เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจาก  ปัจจัยหลายด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ  ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีดำเนินงานในหลายวิธี  และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของ        สุขภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำ
    แผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่
    หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าว อาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพ
    ชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น โดยระยะแรกอาจเลือกใช้แผนสุขภาพชุมชน และในระยะต่อไปมีการ
    พัฒนาขึ้น โดยนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป
     
    วัตถุประสงค์
    • เพื่อภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
    • เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    • เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่
    • เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการสุขภาพประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง
    การประชุมทำแผนยุทธศาสตร์ สิ่งที่สำคัญคือการระดมความคิดของทุกภาคส่วน
    เพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาสมบูรณ์ที่สุด
     
    อ้างอิง ข้อมูลจาก โครงการทำแผนสุขภาพชุมชน www.nmt.or.th